แนะนำ 8 ชาเขียว ยี่ห้อไหนดี 2021 อร่อย ช่วยเผาผลาญไขมัน รวมผงมัทฉะ และชาซอง
แม้ว่ากระแสชาไข่มุกกลับมาฮิตกันอีกรอบทางโซเซียล แต่กระแสความนิยมของการดื่มชาเขียวก็ไม่ได้ลดน้อยลงไป ชาเขียวนั้นจริง ๆ แล้วมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน แต่ในประเทศไทย การดื่มชาเขียวจะได้รับอิทธิพลมาจากประเทศญี่ปุ่น และเนื่องจากกระแสความแรงของญี่ปุ่นนี่เอง ที่ทำให้ทุกผลิตภัณฑ์ที่มาจากญี่ปุ่น ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในประเทศไทยเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น เครื่องสำอาง ขนมญี่ปุ่น หรือแม้แต่เจ้าชาเขียวนี่แหละค่ะ
สังเกตได้เลยว่า เมื่อไปเที่ยวญี่ปุ่น หลาย ๆ คนก็จะพลาดไม่ได้เลยกับไอศกรีมชาเขียว หรือเมื่อเห็น มัทชะลาเต้ ก็อดสั่งไม่ได้กันใช่ไหมคะ แม้แต่ในร้านกาแฟดังอย่างสตาร์บัค ก็ยังมีเมนูชาเขียวให้เลือก แน่นอนว่าหลาย ๆ คนติดใจในความหอมหวานของชาเขียวญี่ปุ่นจนถึงกับต้องซื้อชาเขียวแบบสำเร็จรูปจากญี่ปุ่นกลับมาทานที่ไทยกันเลยทีเดียว
ความนิยมชมชอบของชาเขียวนั้น มาจากสีเขียวสวยเด่นของชา รสชาติที่ฝาดนิด ๆ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว และที่สำคัญมีสรรพคุณที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ตัวชาเขียวเต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและโพลีฟีนอลทำให้ร่างกายของคุณรู้สึกกระปรี้กระเปร่า สดชื่น ซึ่งเท่านี้เป็นเพียงแค่น้ำจิ้มเท่านั้น ยังมีหลายรายละเอียดปลีกย่อยอีกเยอะมากของชาเขียว ที่คุณจะได้ทำความเข้าใจในบทความด้านล่างนี้ อีกทั้งคุณรู้หรือไม่ว่า ชาเขียวที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่นนั้นมีมากมายหลายชนิด และกระบวนการผลิตกับแหล่งที่ปลูกชานี่เอง เป็นส่วนสำคัญอย่างมากที่จะส่งผลต่อคุณภาพของชาเขียว
อยากอ่านตรงไหน กดได้เลย
ชาเขียวมีสรรพคุณอย่างไร?
ชาเขียว ถือเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มสุขภาพที่มีสารอาหารที่ให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก เนื่องจากมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ หรือแม้แต่สารบำรุงสมอง ช่วยลดการเกิดมะเร็ง จากการงานวิจัยพบว่า สารที่พบได้มากในชาเขียว และให้ประโยชน์ต่อร่างกาย มีดังต่อไปนี้
1. มีคาเทชิน ซึ่งประกอบด้วยสาร EGCG (Epigallocatechin Gallate) ซึ่งพบได้มากที่สุดในใบชาเขียวแห้ง ซึ่งสารนี้มีสรรพคุณที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง เช่น ช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญไขมันและปรับปรุงสมรรถภาพทางกาย ช่วยป้องกันและลดการเกิดโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด
จากสรรพคุณของสารคาเทชินนี่เอง จึงทำให้ผู้คนหลายคนหันมาดื่มชาเขียวเป็นประจำทุกวัน โดยมีจุดประสงค์หลัก คือช่วยในเรื่องของการลดน้ำหนัก ทางเราแนะนำว่าให้ดื่มชาเขียวแบบไม่ผสมน้ำตาล เพราะน้ำตาลจะทำให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นสารคาเทชินยังมีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าวิตามินอีและวิตามินซีถึง 20-100 เท่า ซึ่งมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง และยังช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง สวยงาม มีฤทธิ์ช่วยชะลอความแก่ สังเกตจากชาวญี่ปุ่นที่ดื่มชาเขียวเป็นประจำนั้นมักจะมีผิวพรรณที่ดี
2. มี L-theanine เป็นกรดอะมิโนที่มีสรรพคุณช่วยลดความเครียดทางสมองและจิตใจ หรือสภาวะเหนื่อยล้าจากการทำงานหนัก ช่วยเพิ่มคลื่นอัลฟาเวฟในสมองทำให้จิตใจไม่กระวนกระวาย สามารถโฟกัสในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ซึ่งมีงานวิจัยรับรองโดยการตรวจผ่านเครื่องตรวจจับคลื่นสมองแล้วว่า การดื่มชาหนึ่งแก้วมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในคลื่นสมองอย่างชัดเจน
…
ชาเขียวมีกี่ประเภท อะไรบ้าง?
ชาเขียวที่เราเห็นวางจำหน่ายตามท้องตลาดนั้นมีหลายประเภทกันเลยทีเดียว ซึ่งชาวญี่ปุ่นจะเรียกชาเขียวโดยรวมว่า เรียวคุฉะ (Ryokucha) เพื่อน ๆ อาจจะเกิดอาการสับสนว่า เอ๊ะ ! แล้วมันต่างกันอย่างไร เพราะบางทีก็เห็นเป็นลักษณะใบชาแห้ง และบางทีก็เห็นเป็นผงสีเขียว วันนี้เรามีคำตอบมาให้เพื่อน ๆ กันค่ะ ชาเขียวในญี่ปุ่นมีมากมายหลายประเภท แต่โดยหลัก ๆ แล้วจะมีอยู่ 6 ประเภทที่เป็นที่นิยม ไปดูกันเลยค่ะว่ามีอะไรกันบ้าง
1. เซนฉะ (Sencha)
เซนฉะ (Sencha) เป็นชาที่นิยมบริโภคมากที่สุดในญี่ปุ่น มักจะปลูกในสวนเปิดโล่งให้ได้รับแสงแดด ใบชาที่จะนำไปทำเซนฉะ (Sencha) จะมีการเก็บเกี่ยวในช่วงแรกหรือช่วงที่สองของฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งทางเกษตรกรจะคัดเฉพาะใบชาอ่อนเท่านั้น กรรมวิธีในการผลิตเซนฉะ (Sencha) จะเริ่มจากการนำใบชาไปนึ่งเพื่อหยุดกระบวนการออกซิเดชั่น ช่วยรักษาสีของใบชา รสชาติ และสารอาหารในชา แล้วจึงนำไปนึ่ง
โดยที่กรรมวิธีในการนึ่งนั้นแบ่งออก 3 วิธี ได้แก่ Asamushi Sencha เป็นการนึ่งในระยะสั้นเพียงแค่ 20-30 วินาที ซึ่งจะช่วยคงความสดของใบชา ไม่แตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ซึ่งน้ำชาที่ได้จากใบชาที่ผ่านการนึ่งประเภทนี้จะมีสีเขียวเหลืองนวล วิธีถัดมา เรียกว่า Chuumushi Sencha เป็นการนึ่งในระยะเวลาปานกลางราว ๆ 30-60 วินาที บางครั้งเราอาจจะแยกไม่ออกว่าใบชาชนิดนี้ผ่านการนึ่งประเภทไหนมา เพราะใบชาที่ผ่านการนึ่งชนิดนี้บางยี่ห้อก็สีเข้ม บางยี่ห้อก็ดูสีอ่อน
สำหรับวิธีสุดท้าย เรียกว่า Fukamushi Sencha เป็นวิธีการนึ่งที่ใช้ระยะเวลานานที่สุดอย่างน้อย 60 วินาทีขึ้นไปจนถึง 2 นาที ซึ่งการนึ่งนานนั้นจะทำให้ใบชาเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม และแตกง่าย น้ำชาที่ได้จากใบชาที่ผ่านกรรมวิธีการนึ่งแบบนี้จะมีสีเขียวสดใส และมีกากชาหลงเหลืออยู่ข้างใต้ถ้วยชา เซนฉะเป็นชาประเภทที่มีสารคาเทชินที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระอยู่ในระดับที่สูงกว่าชาเขียวประเภทอื่น ให้รสชาที่เข้มข้น กลมกล่อม มีความฝาดของชาสูงกว่าชาเขียวประเภทอื่น
2. มัทฉะ (Matcha)
ชาเขียวผง หรือที่เรียกกันว่า มัทฉะ เป็นชาเขียวที่แตกต่างจากชาเขียวประเภทอื่นตรงที่มีลักษณะเป็นผงละเอียดที่ทำจากการบดใบชาเขียวยอดอ่อน มัทฉะ (Matcha) ผลิตจากต้นชา Camellia Sinensis ซึ่งแหล่งปลูกชาที่มีชื่อเสียงสำหรับทำมัทฉะนั้น อยู่ในสองภูมิภาคของญี่ปุ่นคือ เมืองอุจิในจังหวัดเกียวโต และเมืองนิชิโอะในจังหวัดไอจิ เนื่องจากมีสภาพภูมิอากาศ และดินที่เหมาะกับการเพาะปลูกต้นชาประเภทนี้
การปลูกต้นชานั้น จะมีการคลุมต้นชาไม่ให้โดนแสงแดดโดยตรงในช่วงสามสัปดาห์ก่อนเก็บเกี่ยว เพื่อเป็นการช่วยต้นชาผลิตคลอโรฟิลล์ในใบชาให้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ใบชามีสีเขียวสด และเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของมัทฉะ นอกจากนี้การบดบังต้นชาไม่ให้โดนแสงแดด ยังช่วยเพิ่มกรดอะมิโน L-theanine และช่วยรักษารสชาติอูมามิของใบชาให้มีความกลมกล่อมมากขึ้น และมีรสฝาดน้อยลง อีกทั้งจากงานวิจัยพบว่า การดื่มชาเขียวมัทฉะ จะได้คุณประโยชน์จากสารคาเทชินมากกว่าการดื่มชาประเภทอื่น เพราะต้องดื่มใบชาที่ถูกบดเป็นผงละเอียด ทำให้ได้รับสารอาหารมากกว่า
เนื่องจากกรรมวิธีตั้งแต่การเพาะปลูก เก็บเกี่ยว ไปจนถึงการบดชาเขียวให้กลายเป็นผงนั้นมีความซับซ้อนและพิถีพิถัน จึงทำให้ชาเขียวมัทฉะเกรดดี (สังเกตได้จากสีของชาเขียว ยิ่งเข้มยิ่งถือว่ามีคุณภาพดี) มักจะมีราคาสูง เหมาะกับการนำไปชงดื่มมากกว่า เช่น ใช้ในงานพิธีที่เป็นการงาน หรือ นิยมนำไปใช้ในพิธีชงชาของญี่ปุ่น ที่ทานคู่กับวากาชิ (ขนมญี่ปุ่น) หากคุณต้องการซื้อชาเขียวมัทฉะไปผสมทำขนมหรือเบเกอรี่ แนะนำให้ใช้ชาเขียวมัทฉะเกรดที่ต่ำลงมา และตัวชาเขียวมัทฉะนั้นมักจะมีอายุการเก็บรักษาที่น้อยกว่าชาประเภทอื่นอยู่ที่ราว ๆ 6 เดือน หากต้องการดื่มชาเขียวที่มีรสชาติดั้งเดิม แนะนำให้ทานให้หมดภายใน 2-3 อาทิตย์หลังจากเปิดถุง
….
3. เกียวคุโระ (Gyokuro)
เกียวคุโระ (Gyokuro) เป็นชาชนิดที่หายากมากที่สุด มีราคาสูง และเป็นชาเขียวเกรดที่ดีที่สุดในบรรดาชาเขียวทั้งหมด เนื่องจากมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์มากกว่าชนิดอื่น ๆ กล่าวกันว่ามีรสหวานนิด ๆ ของใบชา ช่วยเรียกน้ำย่อยได้ดี ซึ่งกรรมวิธีก่อนเก็บเกี่ยวชาประเภทนี้คือ การคลุมต้นชาไม่ให้โดนแสงแดดเป็นเวลา 20 วัน คล้ายกับชาเขียวมัทฉะ เพื่อเพิ่มระดับกรดอะมิโน ซึ่งจะช่วยสร้างรสหวานนิด ๆ ในต้นชา และหลังจากผ่านกระบวนการเก็บเกี่ยว เกียวคุโระก็ใช้กรรมวิธีการนึ่งเช่นเดียวกับเซ็นฉะ ซึ่งเกียวคุโระนั้นจะถูกนึ่งที่อุณหภูมิประมาณ 50°C
ความแตกต่างในรสชาติ ของเซนฉะ (Sencha) และ เกียวคุโระ (Gyokuro) คือ เซนฉะ (Sencha) จะปลูกในแสงแดดทำให้มีรสฝาดปานกลาง มีกลิ่นหอม และโดดเด่นด้วยรสชาติที่สดชื่น ส่วน เกียวคุโระ (Gyokuro) นั้น จะมีความฝาดน้อยกว่าและมีรสชาติที่เข้มข้นกว่า
4. เกงไมฉะ (Genmaicha)
เกงไมฉะ (Genmaicha)เกิดจากการแปรรูปชาเขียวชนิดอื่นนำมาผสมกัน เช่น นำชาเขียวบังฉะหรือชาเขียวเซนฉะไปผสมกับเก็นไม (Genmai) หรือข้าวกล้องนั่นเอง ซึ่งกรรมวิธีในการผลิตคือ นำชาไปผ่านการนึ่งก่อนแล้วจึงนำไปผสมกับข้าวกล้อง จากนั้นจึงคั่วจนเป็นสีน้ำตาล โดยที่ชาเขียวเกงไมฉะนั้น ในสมัยก่อนจะนิยมดื่มในหมู่ชาวบ้านที่ยากจน แต่ปัจจุบันนิยมดื่มกันอย่างแพร่หลาย
จุดเด่นของชาชนิดนี้คือ ความหอมของข้าวกล้องคั่วที่โดดเด่นออกมา ทำให้ดื่มง่ายและรู้สึกสดชื่น อีกทั้งยังทำให้มีรสฝาดของชาน้อยลง และเนื่องจากมีส่วนผสมของข้าวกล้องจึงทำให้มีคาเฟอีนน้อยกว่าชาเขียวประเภทอื่น สำหรับวิธีการการต้มชาเขียวชนิดนี้ แนะนำให้ใช้น้ำร้อนที่มีอุณหภูมิประมาณ 80–85 ° C และใช้เวลาต้มชาที่ประมาณ 3-5 นาที หากต้มนานกว่านี้จะทำให้ชามีรสฝาดมากขึ้น
นอกจากนี้ยังมี เกงไมฉะที่ผสมชาเขียวมัทฉะอีกด้วย ซึ่งชาวญี่ปุ่นเรียกชาประเภทนี้ว่า Matcha-iri Genmaicha การผสมมัทฉะนี่เอง จะเป็นการเพิ่มสีเขียวและรสชาติของชาเขียวให้เด่นชัดขึ้นมากกว่าเกงไมฉะปกติ แต่ชาเขียวประเภทนี้ อาจจะหายากสักหน่อยในประเทศไทย ถ้าใครมีโอกาสไปเที่ยวญี่ปุ่น ก็ลองหาซื้อดูนะคะ
.
5. บังฉะ (Bancha )
บังฉะ (Bancha) ใช้วิธีการเพาะปลูกและแปรรูปแบบเดียวกับเซ็นฉะ (Sencha) แต่จะมีคุณภาพของชาเขียวที่ด้อยกว่า เพราะบังฉะจะใช้ใบชาแก่ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวในภายหลัง ในช่วงที่สามหรือสี่ของฤดูเก็บเกี่ยว ใบชาแก่จะมีลักษณะใบใหญ่ขึ้นและหยาบกว่ายอดชา หรือใบชาอ่อนที่ถูกเก็บเกี่ยวในช่วงแรกของปี ด้วยเหตุนี้ ชาเขียวบังฉะ จึงมีราคาที่ต่ำกว่าชาเขียวญี่ปุ่นชนิดอื่น
และวิธีที่ง่ายที่สุดในการแยกความแตกต่างระหว่างเซ็นฉะ (Sencha) และบังฉะ (Bancha) คือ การดูจากราคาประกอบนั่นเอง สำหรับรสชาติของชาเขียวบังฉะนั้น จะยังคงมีกลิ่นหอมจากใบชา แต่จะมีรสของชาที่อ่อนกว่า โดยเฉพาะความกลมกล่อมที่น้อยกว่าเซ็นฉะ
.
6. โฮจิฉะ (Hojicha)
โฮจิฉะ (Hojicha) เป็นชาเขียวที่เกิดจากการนำใบชาของเซนฉะ (Sencha) และบังฉะ (Bancha) มาผสมกันแล้วนำไปคั่ว ให้ผ่านความร้อนสูงมากกว่า 200 องศา จนกลายเป็นสีน้ำตาลเข้ม นอกจากตัวใบชาแล้ว ยังมีการผสมลำต้นของชาเข้าไปด้วย ถ้าเลือกเอาเฉพาะใบชาคุณภาพดีจากเซนฉะ แล้วนำไปผ่านเทคนิคการคั่วขึ้นสูง ก็จะทำให้ได้ชาเขียวโฮจิฉะเกรดดี มีคุณภาพมากกว่าโฮจิฉะทั่ว ๆ ไป และจุดเด่นของชาคั่วโฮจิฉะนี้ จะมีกลิ่นชาคั่วหอมที่เป็นเอกลักษณ์ มีรสฝาดไม่มากนัก เพราะการคั่วทำให้สารแทนนิน(ความฝาด)และคาเฟอีนในใบชาลดลง
โฮจิฉะ (Hojicha)อาจจะหาไม่ได้แพร่หลายมากนักตามคาเฟ่ในประเทศญี่ปุ่น มักจะออกมาเป็นเมนูประจำฤดูที่ขายเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ในประเทศไทยก็เริ่มมีคาเฟ่หลายแห่งมีเมนูเครื่องดื่มหรือบิงซูที่ใช้โฮจิฉะเป็นส่วนผสม ยิ่งไปกว่านั้นชาเขียวโฮจิฉะยังมีชนิดผงเช่นเดียวกับชาเขียวมัทฉะด้วย ตัวแบบผงเหมาะกับการนำไปทำเครื่องดื่มผสมนม ขนม หรือ เบเกอรี่ต่าง ๆ เช่นเดียวกับชาเขียวมัทฉะ
…….
ตารางสรุปข้อมูลชาเขียวแบบรวบรัด
แนะนำ 4 ชาเขียวมัทฉะ ยี่ห้อไหนดี อร่อย ช่วยลดน้ำหนัก เผาผลาญไขมัน
▼▼ MatchaZuki อุจิมัทฉะ ผงมัทฉะ 100% เกรด Excellent ▲▲
…..
……
สำหรับใครที่ต้องการดื่มชาเขียวแท้ ๆ เกรด Excellent คัดมาแล้วจากเมืองอุจิ จังหวัดเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแหล่งผลิตชาเขียวชื่อดังของญี่ปุ่น เพื่อน ๆ ลองสังเกตดูนะคะ เวลาไปเที่ยวญี่ปุ่น ถ้าซื้อผลิตภัณฑ์ที่ทำจากชาเขียว หรือเข้าคาเฟ่ ร้านไหนที่มีเมนูชาเขียวลาเต้ ก็มักจะเขียนไว้ว่า ชาเขียวจากเมืองอุจิ เนื่องจากชาเขียวที่ผลิตจากเมืองนี้มีกรรมวิธีการผลิตที่พิเศษ ซึ่งเริ่มตั้งแต่วิธีการเพาะปลูกชาเขียวในสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม รวมไปถึงการคัดชาเขียวทีละใบ เพื่อแบ่งเกรดอย่างชัดเจน
หากใครที่ต้องการลิ้มรสชาเขียวเกรดหรูหราแล้ว เราขอแนะนำตัวนี้เลยค่ะ มัทฉะเกรดนี้เป็นผงมัทฉะ 100% มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวของชาเขียวที่เป็นเอกลักษณ์ มีสีของชาเขียวเข้มข้น เหมาะสำหรับนำมาชงดื่มสด ๆ แบบ Traditional Matcha สไตล์ญี่ปุ่น หรือจะนำไปใส่นมให้กลายเป็นมัทฉะลาเต้ที่หลายคนชื่นชอบ รีวิวของผู้ซื้อหลายเสียงต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ชาเขียวตัวนี้มีสีเขียวมรกตที่ชัดเจน กลิ่นหอมอร่อย หลับตาดื่มแล้วเหมือนได้กลับไปที่ญี่ปุ่น แพ็กเกจที่จัดทำมา ก็ได้ขนาดกำลังพอดี ห่อฟอยล์มาอย่างดีและมีซิปล็อค ทำให้สามารถเก็บไว้ดื่มได้นาน
ราคา | 850 บาท |
สถานที่ผลิต | เมืองอุจิ ประเทศญี่ปุ่น |
ขนาด | 100 กรัม |
ชงได้กี่แก้ว | 33 แก้ว |
ราคาเฉลี่ยต่อแก้ว | 25.5 บาท/แก้ว |
……..
▼▼ Nishio Matcha Green Tea เกรด Premium ▲▲
….
……
มาต่อกันที่ตัวที่สอง ชาเขียวตัวนี้ก็มีชื่อเสียงไม่แพ้ชาเขียวตัวแรกเลย ชาเขียวระดับพรีเมี่ยมจากเมืองนิชิโอะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งแหล่งผลิตชาเขียวอันดับต้น ๆ ของญี่ปุ่น โดยมีกรรมวิธีในการคัดใบชาอย่างพิถีพิถัน ก่อนอื่นเลยจะคลุมต้นชาไว้ไม่ให้โดนแสงแดด และคัดใบชาอ่อนเพียง 3 ใบแรกจากต้นชาเหล่านี้ ซึ่งจะทำให้ได้ใบชาที่มีคุณภาพมากที่สุด และนำไปผลิตชาที่ได้สีเข้ม สวย และหอมกลิ่นเฉพาะของชาเขียว ทำให้บางคนถึงกลับกล่าวว่า ชาที่ผลิตจากเมืองนี้มีรสชาติที่นุ่มละมุน หอมหวล และคงรสชาติดั้งเดิมแท้ ๆ ของชาเขียวไว้ได้ดี
ชาเขียวนิชิโอะ มัทฉะตัวนี้จะมีราคาย่อมเยากว่าตัวแรกที่เราแนะนำไปด้านบน เพราะเป็นเกรดต่ำกว่า ซึ่งหากใครที่อยากลองชาเขียวแท้ ๆ คุณภาพดีที่ผลิตจากญี่ปุ่น เราแนะนำให้เริ่มลองจากตัวนี้ค่ะ เพราะราคาไม่สูงจนเกินไปนัก ตกเพียงแก้วละ 16 บาทต่อแก้วเท่านั้นเอง นอกจากนี้ยังสามารถนำไปเป็นส่วนผสมทำไอศกรีม เครื่องดื่มชาเขียวทั้งแบบร้อนและแบบเย็น หรือจะใส่นมเป็นมัทฉะลาเต้ก็ได้ ผู้ซื้อหลาย ๆ คนได้ลงรีวิวไว้ว่า พอใจในกลิ่น รสชาติ และความฝาดเข้มเฉพาะของชาเขียวตัวนี้ค่ะ และรุ่นนี้ก็มีซิปล็อคให้ ทำให้ใช้ง่ายงาน และเก็บได้นานค่ะ
ราคา | 540 บาท |
สถานที่ผลิต | เมืองนิชิโอะ ประเทศญี่ปุ่น |
ขนาด | 100 กรัม |
ชงได้กี่แก้ว | 33 แก้ว |
ราคาเฉลี่ยต่อแก้ว | 16 บาท/แก้ว |
…
▼▼ Maruzen ชาเขียวญี่ปุ่นชนิดผง (มัทฉะ) เกรด Premium ▲▲
……
ชาเขียวผงเกรดพรีเมียมยี่ห้อนี้ เกิดจากการร่วมทุนของมารุเซ็น แจแปนและบริษัท สิงห์ปาร์ค เชียงราย โดยที่บริษัทมารุเซ็นนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญในการผลิตชาเขียวในญี่ปุ่นมาอย่างยาวนาน และมีการปลูกชาเขียวที่จังหวัดชิซูโอกะ หนึ่งในแหล่งผลิตชาเขียวอันดับต้น ๆ ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทางบริษัทมารุเซ็นเอง ก็ได้นำชาเขียวตัวนี้ มาปลูกที่ไทย ในจังหวัดเชียงราย โดยนำกรรมวิธีการผลิตที่พิถีพิถันตามต้นฉบับของชาวญี่ปุ่นทั้งหมด มาใช้ในการผลิต เริ่มตั้งแต่ การควบคุมแสงแดด การบดชา และการอบไอน้ำ (นึ่ง) ทำให้ได้ผงชาเขียวที่มีคุณภาพเทียบเท่ากับผงชาเขียวที่ผลิตในญี่ปุ่นนั้นเอง
จากรีวิวส่วนใหญ่พบว่า ตัวชาเขียวมีรสชาติดี หอมชาอ่อน ๆ แต่สีของชาเขียวไม่เข้มเท่าที่ควร และเมื่อชงทาน หลายคนบอกกันว่า กลิ่นของชาเขียวลดลงเมื่อเทียบกับตอนที่ยังเป็นผงอยู่ ซึ่งหากนำเอาไปเทียบกับชาเขียวที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น อาจจะยังสู้เกรดชาเขียวระดับบนที่มีราคาแพงกว่าไม่ได้ แต่ก็ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ และมีราคาย่อมเยาให้ได้ลองชงดื่มกันค่ะ.
ราคา | 250 บาท |
สถานที่ผลิต | เชียงราย |
ขนาด | 100 กรัม |
ชงได้กี่แก้ว | 33 แก้ว |
ราคาเฉลี่ยต่อแก้ว | 7.5 บาท/แก้ว |
..
▼▼ ผงชาเขียวมัทฉะ 100% ไร่ชาฉุยฟง เกรด Culinary ▲▲
……
มาต่อกันที่ชาเขียวสัญชาติไทย ชาเขียวตัวนี้เป็นชาเขียวเกรด Culinary ที่ผลิตจากไร่ชาฉุยฟง จังหวัดเชียงราย ซึ่งหากใครอยากสนับสนุนผลิตภัณฑ์ของเกษตรกรชาวไทย เราขอแนะนำชาเขียวตัวนี้เลยค่ะ แม้ว่าชาเขียวเกรดนี้อาจจะมีกลิ่น รสชาติ ความเข้มข้นของสีชาเขียว ไม่สวยงามเท่าเกรด Excellent หรือเกรด Premium แต่ก็มีความอร่อยที่พอตัวค่ะ สำหรับวิธีการชงชาเขียวตัวนี้ เราแนะนำให้เริ่มจากละลายผงชาในน้ำร้อน เนื่องจากผงชาเขียวจะมีตะกอนของใบชาผสมอยู่ ทำให้ละลายยากกว่าผงชนิดอื่น ถ้าใครเคยดื่มชาเขียวที่ญี่ปุ่นหรือดูหนัง ดูละครญี่ปุ่น จะเห็นว่าชาวญี่ปุ่นนั้น จะใช้แปรงชงชาที่มีไว้สำหรับชงชาเขียวโดยเฉพาะ ตัวแปรงจะช่วยละลายผงชาเขียวได้ดี กว่าการใช้ช้อนคน
จากรีวิวของผู้ที่ซื้อไปดื่ม ให้ความเห็นส่วนใหญ่ว่า รสชาติอาจจะสู้ชาเขียวเกรดสูงกว่าที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่นไม่ได้ แต่ก็มีรสชาติดี มีกลิ่นหอมของชาเขียวอ่อน ๆ ที่หลายคนชื่นชอบ จริง ๆ แล้วตัวนี้จะเหมาะกับการนำไปทำขนมและเบเกอรี่มากกว่านำไปทำเครื่องดื่มค่ะ แน่นอนว่า มาในถุงซิปล็อคเหมือนกับยี่ห้ออื่น ๆ ทำให้เก็บได้สะดวก และใช้งานได้นาน
ราคา | 150 บาท |
สถานที่ผลิต | ไร่ฉุยฝง จังหวัดเชียงราย |
ขนาด | 100 กรัม |
ชงได้กี่แก้ว | 33 แก้ว |
ราคาเฉลี่ยต่อแก้ว | 4.5 บาท/แก้ว |
..
แนะนำ 4 ชาเขียวชนิดอื่น ๆ ยี่ห้อไหนดี อร่อย ช่วยลดน้ำหนัก เผาผลาญไขมัน
สำหรับใครที่ไม่ชอบชาเขียวผงสีเขียวแบบมัทชะ วันนี้เราก็มีทางเลือกอื่นมานำเสนอ ตามที่เราได้กล่าวไปในด้านบนว่าชาเขียวนั้นมีหลายชนิด ไปดูกันเลยค่ะนอกจากชาเขียวแบบมัทชะแล้วจะมีแบบไหนให้เราเลือกได้อีกบ้าง
….
▼▼ Maruzen โฮจิฉะ Houjicha Green tea ชาเขียวคั่ว ชนิดผง ▲▲
….
……
สำหรับชาเขียวชนิดอื่นที่ไม่ใช่ชาเขียวมัทฉะ เราอยากแนะนำเป็นตัวแรกเลยก็คือ ชาเขียวคั่ว(โฮจิฉะ) ตรามารุเซน หลาย ๆ คนอาจจะเคยซื้อชาเขียวคั่วมาลองชงดื่มกันบ้างแล้ว ชาเขียวคั่วจะแตกต่างจากชาเขียวผง โดยเป็นใบชาแก่ที่ถูกเก็บเกี่ยวในช่วงท้าย ขนาดใบชาจะใหญ่กว่าใบชาอ่อนที่เก็บเกี่ยวตั้งแต่ช่วงแรก ซึ่งกรรมวิธีในการผลิตก็ดังที่เรากล่าวไปในวิธีการเลือกข้างต้น คือ การนำใบชาไปคั่วจนมีสีน้ำตาลอ่อน และมีกลิ่นหอมของชาเขียวที่ผสมกับกลิ่นไหม้อ่อน ๆ ที่สำคัญสำหรับคนที่ไม่ชอบทานคาเฟอีน ตัวนี้จะมีส่วนผสมของคาเฟอีนน้อยกว่าชาเขียวชนิดอื่น ๆ จึงสามารถดื่มได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
ปัจจุบันเพื่อน ๆ น่าจะเคยเห็นชาโฮจิชะผ่านตามาบ้างแล้ว หากใครเคยไปทานขนมที่ร้านอาฟเตอร์ยู ร้านคาเฟ่ชื่อดังก็มีเมนู บิงซูโฮจิฉะ เป็นที่นิยมติดอันดับในใจของใครหลาย ๆ คน เนื่องจากกลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว สำหรับชาโฮจิฉะตัวนี้ก็ได้รับรีวิวจากชาวเน็ตอย่างล้นหลามว่า มีรสชาติฝาดน้อยเมื่อเทียบกับชาเขียวชนิดอื่น ๆ มีกลิ่นหอมคั่วอ่อน ๆสามารถนำไปทำไอศกรีม เบเกอรี่ต่าง ๆ ได้อีกด้วย
ราคา | 135 บาท |
สถานที่ผลิต | เชียงราย |
ขนาด | 100 กรัม |
ชงได้กี่แก้ว | 33 แก้ว |
ราคาเฉลี่ยต่อแก้ว | 4 บาท/แก้ว |
…
▼▼ ITOEN Genmaicha Premium Green tea with Roasted Rice ▲▲
….
……
มาต่อกันที่ชาเชียวที่เรียกว่า Genmaicha ซึ่ง Genmai ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า ข้าว เมื่อนำมารวมกับคำว่า Cha แล้วก็หมายถึงเป็นการนำใบชาเขียวแห้งไปผสมกับข้าวคั่วนั่นเอง ชาเขียวข้าวคั่วเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมดื่มในประเทศญี่ปุ่น ด้วยรสชาติของชาผสมผสานไปกลับกลิ่นธรรมชาติของข้าวคั่ว ทำให้เวลาดื่มรู้สึกสดชื่น หอมถูกปาก
สำหรับแบรนด์ที่เราอยากจะนำเสนอคือ Genmaicha จากอิโตะเอ็น ผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชาชื่อดังของญี่ปุ่น ที่มีประวัติมาอย่างยาวนาน ตัวชาเขียว Genmaicha ยี่ห้อนี้ คนไทยนิยมดื่มกันมาก ถ้ามีโอกาสได้ไปเที่ยวญี่ปุ่น ก็มักจะซื้อติดไม้ติดมื้อกลับมากันเป็นประจำ ตัวสินค้ามาในรูปแบบชาเขียวสำเร็จรูป แยกเป็นซอง ๆ ต่อการชง 1 ครั้ง ในแพ็คเกจมีทั้งหมด 20 ซอง ถือว่าสะดวกมากในการชงดื่ม จากรีวิวของผู้ดื่มหลายคน ต่างก็รู้สึกพึงพอใจในรสชา ซึ่งมีความกลมกล่อมในระดับกลาง ๆ มีกลิ่นชาผสมกลิ่นหอมของข้าวคั่วอันเป็นเอกลักษณ์อย่างชัดเจน ดื่มง่าย และไม่ต้องมาปวดหัวกับวิธีการชงมากนัก
ราคา | 200 บาท |
สถานที่ผลิต | ประเทศญี่ปุ่น |
ขนาด | 2.3 g x 20 ซอง |
ชงได้กี่แก้ว | 20 ซอง |
ราคาเฉลี่ยต่อแก้ว | 10 บาท |
…
▼▼ Maruzen ชาเขียวญี่ปุ่นเซ็นฉะ (Sencha) ▲▲
….
……
ตัวถัดมาที่เราจะแนะนำคือ เซ็นฉะ (Sencha) ของมารุเซน ตามที่เราได้กล่าวไปข้างต้น ชาชนิดนี้เป็นชาเขียวที่ได้รับความรับความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งชาชนิดนี้มีการผลิตในญี่ปุ่นมากถึง 60% ของชาเขียวทั้งหมด ชาชนิดนี้จะถูกปลูกกลางแสงแดดไม่ได้ปลูกในร่มเหมือนชาที่ใช้ผลิตมัทฉะที่มีการใช้ยอดอ่อนและไม่ให้โดนแสงแดด ซึ่งกรรมวิธีการอบชาก็แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ เชื่อกันว่า เซนฉะ มีสาร EGCG อยู่ในระดับที่สูงมาก ซึ่งมีคุณสมบัติที่ช่วยในการลดน้ำหนัก นอกจากนี้ยังมีคาเทชินอยู่ในระดับที่สูงอีกด้วย ซึ่งมีส่วนช่วยในการเผาผลาญไขมันในร่างกาย
ชาวเน็ตต่างชื่นชอบในรสชาติของชาตัวนี้ มีความหอมและความฝาดของใบชาในระดับสูง ซึ่งมากกว่าชาเขียวชนิดอื่น เหมาะสำหรับคนที่ชอบรสชาเข้ม ๆ แต่สำหรับคนที่ชอบชาที่มีรสชาติกลมกล่อม อาจจะต้องหลีกเลี่ยงชาตัวนี้ เพราะมีความกลมกล่อมของชาน้อยกว่าชาเขียวมัทชะและชาเขียวเกียวกุโระ
ราคา | 200 บาท |
สถานที่ผลิต | เชียงราย |
ขนาด | 100 กรัม |
ชงได้กี่แก้ว | 33 แก้ว |
ราคาเฉลี่ยต่อแก้ว | 6 บาท |
….
▼▼ ชาเขียวบังฉะ ซึสึโอกะ โรส ซิสเต็ม ▲▲
….
……
สำหรับชาตัวสุดท้ายที่เราจะแนะนำนั่นก็คือ บังฉะ (Bancha) ของ ซึสึโอกะ โรส ซิสเต็ม ตัวนี้นำเข้ามาจากญี่ปุ่น ใช้ใบชาจากจังหวัดซึสึโอกะ เป็นสถานที่ปลูกชาที่มีชื่อเสียงอันดับต้น ๆ ของประเทศญี่ปุ่น บังฉะมีช่วงเก็บเกี่ยวอยู่ในช่วงที่สามหรือสี่ของการปลูกต้นชา ลักษณะเป็นใบที่โตแล้วมีความหยาบ และมีกรรมวิธีผลิตคล้าย ๆ กับเซ็นฉะ คือ การลดระดับเอนไซม์ในใบชาโดยการนำใบชาที่เก็บเกี่ยวไปนึ่งก่อนแล้วจึงนำไปหมัก
จุดเด่นของชาตัวนี้จะอยู่ที่ความหอมของชาในระดับสูง แต่ความกลมกล่อมและความฝาดจะไม่สูงมากนัก สำหรับใครที่ไม่ชอบเซนฉะที่มีความฝาดและความขมสูง เราแนะนำให้ลองชาชนิดนี้ ชาวเน็ตต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ชาตัวนี้หอมและรสชาติดี ชาชนิดนี้จะมีระดับคาเฟอีนในใบชาน้อยคล้าย ๆ กับโฮจิฉะ เนื่องจากใช้ใบชาแก่ ซึ่งใบชาอ่อนจะมีระดับคาเฟอีนที่สูงกว่า นอกจากนี้บังฉะยังมีสารพอลิซัคคาไรด์และสารคาเทชินในระดับสูง ช่วยลดน้ำตาลในเลือดอีกด้วย
ราคา | 198 บาท |
สถานที่ผลิต | จังหวัดซึสึโอกะ ประเทศญี่ปุ่น |
ขนาด | 100 กรัม |
ชงได้กี่แก้ว | 33 แก้ว |
ราคาเฉลี่ยต่อแก้ว | 6 บาท |
……
เลือกชาเขียวอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ?
ไปดูกันค่ะว่าการเลือกซื้อชาเขียวนั้นมีอะไรที่เราต้องคำนึงถึงกันบ้าง
….
เลือกจากประเภทของชาเขียว
จากที่เราได้อธิบายไปข้างต้น ชาเขียวนั้นมีหลายประเภท หลัก ๆ ที่เป็นที่นิยมมี 6 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะมีกระบวนการปลูก การเก็บเกี่ยว และกรรมวิธีการนึ่งชาที่แตกต่างกัน ทำให้ชาเขียวแต่ละประเภทนั้นมีสารอาหาร รสชาติ ระดับความกลมกล่อม และความฝาดที่แตกต่างกัน หากคุณชอบรสกลมกล่อมผสมนม เราแนะนำให้เลือกชาเขียวมัทฉะ หากคุณชอบรสเข้ม มีความฝาดมาก เราแนะนำให้เลือกชาเขียวเซนฉะ แต่หากชอบแบบแปรรูปมีกลิ่นข้าวคั่วผสมความฝาดน้อย และมีคาเฟอีนต่ำ เราแนะนำให้เลือกชาเขียวเกงไมฉะ เป็นต้น
.
เลือกจากจุดประสงค์ในการใช้งาน
หากคุณต้องการซื้อชาเขียวมัทฉะสำหรับทำเครื่องดื่ม ขนม หรือเบเกอรี่ เราแนะนำให้ซื้อตามเกรด ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1. เกรด Culinary หรือ Kitchen Grade เป็นชาเขียวเกรดต่ำสุด เหมาะสำหรับการนำไปผสมทำขนมหรือเบเกอรี่
2. เกรด Latte ชาเขียวเกรดที่ใช้ในคาเฟ่ ต้องนำไปผสมนมหรือน้ำตาลเพื่อลดความฝาดของชาเขียว หรือจะใช้เป็นส่วนผสมของเบเกอรี่ก็ได้
3. เกรด Premium เป็นเกรดที่มีคุณภาพขึ้นมาอีกระดับ มีราคาสูง มักใช้ในคาเฟ่เครื่องดื่มที่มีราคาแพงขึ้น
4. เกรด Ceremony เป็นเกรดที่มีคุณภาพดีที่สุด มีความเข้มของสีเขียวสวย มีความกลมกล่อมสูง เหมาะสำหรับใช้ในพิธีชงชาหรืองานที่เป็นทางการของญี่ปุ่น
นอกจากการแบ่งเกรดแล้ว จุดสังเกตคุณภาพของชาเขียวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ชาเขียวมัทฉะเกรดดีจะมีสีเขียวเข้มสวย สวยกว่าเกรดทั่ว ๆ ไป และมีราคาที่สูงกว่า ถ้าคุณต้องการเซฟต้นทุนในการทำขนม ควรจะเลือกใช้เกรด Culinary หรือ Latte อย่างไรก็ตาม มีคาเฟ่หรูหราหลายแห่งใช้ชาเขียวเกรดดีมาเป็นส่วนผสมในเบเกอรี่หรือไอศกรีม เพื่อให้มีรสชาติดีขึ้นและเป็นจุดขายที่แตกต่างจากร้านชาเขียวทั่วไป
นอกจากนี้ หากจุดประสงค์ของคุณคือ ต้องการซื้อชาเขียวมาทานเพื่อสุขภาพ เช่น ลดความเสี่ยงในการเกิดโรค หรือลดน้ำหนัก แนะนำว่าให้ซื้อชาเขียวที่ไม่มีส่วนผสมของนมหรือน้ำตาล เนื่องจากปัจจุบันมีชาเขียวแบบสำเร็จรูป ไม่ว่าจะเป็นแบบซองหรือแบบขวดที่วางขายในท้องตลาด มีหลายยี่ห้อผสมน้ำตาลลงไปเพื่อให้ทานได้ง่ายขึ้น ซึ่งบางยี่ห้อมีปริมาณน้ำตาลที่สูงมาก ทำให้กลบรสชาติที่แท้จริงของชาเขียว จากที่คุณควรจะได้รับคุณประโยชน์มากมายจากสารอาหารที่อยู่ในชาเขียว กลับกลายเป็นมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานแทน ดังนั้นควรระวังในจุดนี้ด้วย
.
เลือกจากสถานที่ผลิต
เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นนั้น มีสภาพภูมิอากาศและดินที่เหมาะสมแก่การปลูกชาเขียวมากกว่าประเทศไทย และกรรมวิธีการผลิตชาเขียวของชาวญี่ปุ่น ที่พิถีพิถันในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การแยกประเภทของชาเขียวโดยการปลูกในที่ร่ม หรือปลูกให้โดนแสงแดด รวมไปถึงช่วงเวลาในการเก็บเกี่ยว ทุกกระบวนการ มีผลต่อคุณภาพของชาเขียวเป็นอย่างมาก ทำให้คุณภาพของชาวเขียวที่ญี่ปุ่นนั้น ดีกว่าที่ประเทศไทยแบบเห็นได้ชัด
หากคุณอยากได้ชาเขียวแท้ ๆ เกรดดี ๆ เราแนะนำให้คุณเลือกผลิตภัณฑ์นำเข้า โดยเฉพาะชาเขียวมัทฉะที่ผลิตที่เมืองอุจิ จังหวัดเกียวโต หรือเมืองนิชิโอะ จังหวัดไอจิ
.
เลือกจากบรรจุภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์ ก็เป็นอีกสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเวลาเลือกซื้อชาเขียว เพราะจะทำให้ชาเขียวแบ่งทานง่ายและเก็บได้ยาวนานขึ้น
การเลือกซื้อชาเขียวที่บรรจุภัณฑ์เป็นแบบมีซิปล็อค หรือแบบกระป๋องที่มีฝาปิดแน่นหนา จะช่วยรักษาและคงสภาพของรสชาติ กลิ่น ให้คงคุณภาพได้ยาวนานกว่า โดยเฉพาะสำหรับชาเขียวมัทฉะ เนื่องจากชาเขียวประเภทนี้จะมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าชาเขียวประเภทอื่น ๆ อยู่ที่ประมาณ 6 เดือน หากเปิดใช้งานแล้ว เราแนะนำให้ทานให้หมดภายใน 2-3 อาทิตย์
หรือหากคุณซื้อชาเขียวแบบสำเร็จรูปที่แยกเป็นถุงชามา ก็สะดวกในการใช้งาน คุณสามารถพกพาไปชงทานที่ออฟฟิศ หรือในระหว่างเดินทางได้ง่ายกว่าแบบถุงใหญ่หรือแบบกระป๋อง เป็นต้น
….
ข้อควรระวังในการดื่มชาเขียว
เนื่องจากชาเขียวทุกชนิดนั้นมีส่วนผสมของ EGCg และคาเฟอีนที่หากได้รับเกินขนาดแล้วอาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ถึงแม้ว่าการดื่มชาเขียว 1 แก้ว จะไม่ได้รับสารเหล่านี้เป็นจำนวนมาก แต่คุณควรจะทราบถึงปริมาณที่ควรได้รับและควรระมัดระวังในการดื่มชาเขียว
ปริมาณ EGCg ที่ปลอดภัยต่อร่างกายอยู่ที่ประมาณ 500 มก. ต่อวัน หากคุณได้รับ EGCg ปริมาณที่สูงกว่า 800 มก. ต่อวันติดต่อกันเป็นเวลา 4 เดือน อาจมีผลกระทบต่อตับได้ ส่วนใหญ่คนที่ได้รับอันตรายจากชาเขียว เนื่องจากมีความเชื่อว่าการดื่มชาเขียวหลายแก้วต่อวัน จะช่วยในการลดน้ำหนักมากกว่า การชงดื่มเพื่อลดความเครียดและผ่อนคลายสมองจากความเหนื่อยล้า จึงทำให้ได้รับปริมาณของ EGCg จำนวนมากกว่าคนทั่วไป โดยที่ชาเขียวหนึ่งแก้วนั้นมี EGCg ได้ประมาณ 2.3-203 มิลลิกรัมต่อเครื่องดื่ม 100 กรัม ซึ่งเป็นช่วงกว้างมาก ดังนั้นการดื่มชาเขียวในระดับ 3-5 แก้วต่อวัน ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย
สารถัดมาที่อาจก่อให้เกิดอันตราย คือ คาเฟอีน โดยที่ชาเขียวหนึ่งแก้ว จะมีคาเฟอีนประมาณ 10 ถึง 100 มิลลิกรัมต่อแก้ว ถ้าคุณไม่อยากได้รับคาเพอีนที่มากเกินไปนั้น แนะนำให้ดื่มชาประเภทบังฉะ (Bancha), เกงไมฉะ(Genmaicha), โฮจิฉะ (Hojicha) เพราะจะมีคาเฟอีนที่น้อยกว่าชาประเภทเกียวคุโระ (Gyokuro), เซ็นฉะ (Sencha) และมัทฉะ (Matcha) สำหรับคนทั่วไป ปริมาณการบริโภคคาเฟอีนที่ปลอดภัยต่อร่างกายจะอยู่ที่ประมาณ 400 มก. ต่อวัน ซึ่งการดื่มชาเขียววันละ 3-5 แก้วยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย
….
สุดท้ายแล้วส่งท้ายกันด้วย
อ่านจบแล้วเป็นอย่างไรกันบ้างคะ แม้ว่าชาเขียวจะเป็นเครื่องดื่มที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในไทยในปัจจุบัน แต่การเลือกซื้อชาเขียวสักยี่ห้อนี่ก็ยากเหมือนกันนะคะ เพราะชาเขียวมีหลายประเภท แถมแต่ละประเภทยังมีกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างกัน มีหลายเกรด มีรสชาติ ความฝาด ความหอม ปริมาณคาเฟอีน คาเทชินที่ต่างกัน สิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ในการเลือกซื้อชาเขียวสักยี่ห้อ คือ รสชาติในแบบที่คุณชอบ ตามที่เราได้กล่าวไปแล้วในข้างต้น
นอกจากนี้สิ่งที่มองข้ามไม่ได้ก็คือ เกรดของชาเขียว และสถานที่ผลิต เนื่องจากชาเขียวจากประเทศญี่ปุ่นมีกรรมวิธีการผลิตตั้งแต่การปลูกที่พิถีพิถันมากกว่าชาเขียวที่ปลูกในประเทศไทย หากคุณอยากทานชาเขียวชั้นดี เราแนะนำให้เลือกผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ควรเช็คให้ดี ๆ ก่อนซื้อ เพราะบางยี่ห้อได้ผสมน้ำตาลและนมมาในชาเขียวผงแล้ว ซึ่งเป็นรูปแบบของชาเขียวสำเร็จรูป หากคุณต้องการดื่มชาเขียวเพื่อลดน้ำหนัก เราแนะนำให้หลีกเลี่ยงชาเขียวผงที่มีส่วนผสมเหล่านี้